
M.D. HOUSE CO.,LTD.
บริษัท เอ็ม.ดี.เฮาส์ จำกัด

ปลวก (Termite)
ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ ปลวกจัดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศ โทษของปลวกนั้นเกิดขึ้น เพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต และเซลลูโลสนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อไม้ ดังนั้นเราจึงพบปลวกเข้าทำลายความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ไม้ หรือโครงสร้างไม้ภายในอาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ
ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าหนึ่งร้อยห้าสิบชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่นำมาใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน คิดเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้เริ่มขึ้นจากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินทำท่อทางเดินดิน ทะลุขึ้นมาตามรอยแตกแยกของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อเชื่อมระหว่างผนัง เสา หรือคานคอดิน เพื่อเข้าไปทำลายโครงสร้างไม้ต่างๆภายในอาคาร เช่น เสาและคานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา ไม้ วงกบ ประตู และหน้าต่าง เป็นต้น
ในการดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้ว ความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกนี้ ช่วยให้สามารถวางแผนและวางแนวทางในกาควบคุมปลวกประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวีดำเนินการหลายวิธี เช่น การทำให้พื้นดินภายในอาคารเป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้หรือการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษปลวกใช้เป็นอาหารไม่ได้ การดำเนินการมีทั้งการใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ซึ่งขั้นตอนในกาควบคุมปลวกนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยลดความเสียหายและช่วยยืดอายุการใช้ประโยชน์ไม้ให้คงทนถาวรยิ่งขึ้น
ความสำคัญของปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก คือ มีทั้งประโยชน์และโทษ
ประโยชน์ที่ได้รับจากปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่มีบทบาทสำคัญมากในระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ คือ
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ ได้แก่ เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และสวนต่างๆ ของพืช ที่หัหร่วงหล่นหรือล้มตายทับถมกันอยู่ในป่าแล้วเปลี่ยนไปเป็นฮิวมัสในดิน เป็นต้น กำเนิดของกระบวนการหมุนเวียนของาตุอาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้พรรณพืชทุกระดับในป่าธรรมชาติ เจริญเติบโตสมบูรณ์ดี
- มีบทบาทสำคัญในช่วงห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์ นอกจากจะช่วยให้พืชในป่าเจริญเติบโตดี เป็นอาหารของสัตว์ป่าแล้ว ตัวปลวกเองยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนของสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด เช่น ไก่ นก กบ คางคกและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ต่อไปเป็นทอดๆ
- เป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์โดยปลวกบางชนิดสามารถสร้างเห็ดโคน ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะและมีราคาแพง สามารถเสริมรายได้เสริมแก่เกษตรกร ทั้งนี้โดยมีเชื้อราที่อยู่ร่วมกันภายในรังปลวกหลายชนิดช่วยในการผลิต
- จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารปลวก สามารถผลิตเอ็นไซม์บางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ด้านการเกษตร อุตสาหกรรมหรือใช้ในการแก้ไขและควบคุมมลภาวะสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป เช่น การย่อยสลายสารกำจัดศัตรูพืช ที่มีฤทธิ์ตกค้างนานหรือกำจักน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
โทษที่เกิดจากปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อ
- กล้าไม้ และไม้ยืนต้น ในป่าธรรมชาติและสวนป่า
- ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง
- ไม้ใช้ประโยชน์เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน
- วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้ และพืชเส้นใย เช่น โต๊ะ ตู้ กระดาษ หนังสือ พรมและเสื้อผ้า เป็นต้น
- กัดทำลายรากพืชเกษตร พืชไร่ พืชผัก พืชสวนและไม้ผล
อย่างไรก็ดี เนื่องจากในประเทศไทยยังมีปลวกอยู่อีกกว่าหนึ่งร้อยชนิดที่มีความสำคัญในการช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ในการวางแผนการป้องกันปลวกในอาคารบ้านเรือนนั้นประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยทั้งต่อผู้อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมมากที่สุด ดังนี้
1.ชีววิทยาและนิเวศวิทยา
2.วีการควบคุมปลวก
3.การจัดการปลวกในอาคาร
1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา
ปลวกเป็นแมลงที่มีความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง โดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืดและอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปตามวรรณะต่างๆ รวม 3 วรรณะ คือ
วรรณะสืบพันธ์ หรือแมลงเม่า
ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีกทั้งเกศผู้และเพสเมีย ทำหน้าที่สืบพันธ์และกระจายพันธ์โดยจะบินออกจากรัง เมื่อดินฟ้าอากาศเหมาะสม เมื่อจับคู่กันแล้วจะสลัดปีก ผสมพันธุ์กันและหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่
วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน
เป็นปลวกตัวเล็กสีขาวนวล ไม่มีปีก ไม่มีตาใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกคลำทาง ทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่ เพาะเลี้ยงเชื้อราและซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย
วรรณะทหาร
เป็นปลวกที่มีหัวโต สีเข้มและแข็ง มีกรามขนาดใหญ่ ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคม เพื่อใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิกภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ บางชนิดจะดัดแปลงส่วนหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง เพื่อกลั่นสารเหนียวปล่อยหรือพ่นไปติดตัวศัตรู ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้หรืออาจทำให้ตายได้
หลายพันฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน (larva) และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีกและเป็นหมัน สารเคมีที่เรียกกันว่าฟีโรโมนหรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของราชินีเพื่อให้ตัวอ่อนกิน จะเป็นตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่างๆ เช่น ปลวกงาน (Worker) ปลวกทหาร(Soldier) โดยบางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้นไม่สมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง (supplementary queen king) ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และจะออกไข่เพิ่มจำนวนประชากรในกรณีราชา (king) หรือราชินี( queen) ของรังถูกทำลายไป
1.2 นิเวศวิทยา
สภาพความเป็นอยู่หรือสภาพทางนิเวศวิทยารวมถึงอุปนิสัยในการกินอาหารของปลวกแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดและประเภทของปลวก ซึ่งสามารถจำแนกอย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท โดยใช้แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลักดังนี้
1.2.1 ปลวกที่อาศัยอยู่ในไม้
ปลวกชนิดนี้ตลอดชีวิตจะอาศัยและกินอยู่ภายในเนื้อไม้ โดยไม่มีการสร้างทางเดินมาติดต่อกับพื้นดินเลย ลักษณะโดยทั่วไปที่บ่งชี้ว่ามีปลวกในกลุ่มนี้เข้ามาทำลายไม้คือ วัสดุแข็งเป็นเม็ดกลมรี อยู่ภายในเนื้อไม้ที่ถูกกินเป็นโพรงหรืออาจร่วงหล่นออกมาภายนอกตามรูที่ผิวไม้ เราอาจแบ่งปลวกประเภทนี้เป็นกลุ่มย่อยลงไปอีกตามลักษณะของความชื้นของไม้ที่ปลวกเข้าทำลาย ดังนี้
1.2.1.1 ปลวกไม้แห้ง (Dry-wood termites)
ปลวกชนิดนี้อาศัยอยู่ในไม้ที่แห้งหรือไม้ที่มีอายุงานมานานและมีความชื้นต่ำ โดยปกติมักจะไม่ค่อยเห็นตัวปลวกชนิดนี้อยู่นอกชิ้นไม้ แต่จะพบวัสดุแข็งรูปกลมรี ก้อนเล็กๆ กองอยู่บนพื้นบริเวณโคนเสา ฝาผนังหรือโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลาย โดยทั่วไปปลวกชนิดนี้จะทำลายไม้เฉพาะภายในชิ้นไม้โดยเหลือผิวไม้ด้านนอกเป็นฟิล์มบางๆ ไว้ ทำให้มองดูภายนอกเหมือนไม้ยังอยู่ในสภาพดี
1.2.1.2 ปลวกไม้เปียก (Damp-wood termites)
ปลวกชนิดนี้มักอาศัยและกินอยู่ในเนื้อไม้ของไม้ยืนต้นหรือไม้ล้มตายที่มีความชื้นสูง
1.2.2 ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน
ปลวกประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในดินแล้วออกไปหาอาหารที่อยู่ตามพื้นดิน หรือเหนือพื้นดินทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะทำท่อทางเดินเดินห่อหุ้มตัว เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น และหลบซ่อนตัวจากศัตรูที่มรบกวน จำแนกเป็น 3 พวก คือ
1.2.2.1 ปลวกใต้ดิน (Subterranean termites)
เป็นปลวกที่อาศัยและทำรังอยู่ใต้ดิน เช่น ปลวกในสกุล Coptotermes, Microtermes, Ancistrotermes และ Hypotermes เป็นต้น
1.2.2.2 ปลวกที่อยู่ตามจอมปลวก (Mound-building termites)
เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดิน เช่น ปลวกในสกุล
1.2.2.3 ปลวกที่อยู่ตามรังขนาดเล็ก (Carton nest termites)
เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพื้นดิน เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้าหรือโครงสร้างภายในอาคาร เช่น ปลวกในสกุลMicrocerotermes, Termes Dicuspiditermes, Nasutitermes และ Hospitalitermes เป็นต้น
แหล่งอาหารของปลวก จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.ไม้ (wood)
2.ดินและฮิวมัส (soil & humus)
3.ใบไม้และเศษซากพืชที่ทับถมกันอยู่บนพื้นดิน (leaves & litter)
4.ไลเคนและมอส (lichen & moss)
ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้หรือวัสดุอื่นๆที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวก จะมีสัตว์เซลล์เดียว คือโปรโตชัว ในปลวกชั้นต่ำหรือมีจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรียและเชื้อราในปลวกชั้นสูง ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารประเภทเซลลูโลสหรือสารประกอบอื่นๆ ให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก
1.3 ชนิดปลวกที่สำคัญที่เข้ามาทำลายไม้ใช้สอย
1.3.1 ปลวกไม้แห้ง ที่สำคัญ คือ Cryptotermes thailandis
ส่วนใหญ่จะพบเข้าทำความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหรือพื้นที่เกาะ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ
1.3.2 ปลวกใต้ดิน ที่สำคัญ คือ Coptotermes gestroi และ Coptotermes havilandi
ปลวกใต้ดินชนิด C. gestroi จัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในประเทศร้อยละ 90 ของอาคารที่ถูกทำลาย เกิดจากการเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้และกว่า 90 % พบเข้ทำความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตเมือง นอกจากนี้แล้วปลวก Odontotermes proformosanus และปลวกในสกุลSchedorthinotermes, Ancistrotermes และ Microtermes อาจพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภายนอกอาคารหรืออาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท
1.3.3 ปลวกสร้างรังขนาดเล็ก ที่สำคัญ คือ Microcerotermes crassus และ Nasutitermes sp.
พบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภายนอกหรือไม้ในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท
1.3.4 ปลวกสร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่สำคัญคือ Globitermes sulphureus, Macrotermes gilvus และ Odontotermes longignathus มักพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภายนอกและไม้ในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาบางประการของปลวกวรรณะทหารที่ใช้ในการจำแนกสกุล
ของปลวกทำลายไม้ที่สำคัญในประเทศไทยและลักษณะการเข้าทำลายไม้ใช้ประโยชน์
รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปไข่ สีเหลืองทอง มีความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 1.40 – 1.51 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 1.15 – 1.24 มิลลิเมตร กรามยาว 0.82 – 0.93 มิลลิเมตร ใต้ริฝีปากบนมีรูเปิดกว้างเรียกว่า fontanelle สำหรับปล่อยสารเหนียวสีขาวออกมาต่อสู้ศัตรู
ปลวกสกุลนี้ทำรังอยู่ใต้พื้นดินหรือทำรังสำรองอยู่ภายในช่องว่างระหว่างฝาสองชั้นในอาคารในการออกหาอาหาร ปลวกจะทำท่อทางเดิน เดินขึ้นมาเป็นท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 1.0 เซนติเมตร ลักษณะการกินเนื้อไม้ของปลวกสกุลนี้จะกินเข้าไปเป็นร่องลึกตามแนวความยาวของเสี้ยนไม้โครงสร้างที่ถูกทำลายมากๆ เนื้อไม้ภายในจะถูกเปลี่ยนเป็นโครงสร้างดิน มีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ ในขณะที่ผิวไม้ภายนอกยังดูปกติอยู่แต่เมื่อใช้มีดปลายแหลมทิ่มแทงลงไปจะพังทะลุเข้าไปได้ง่าย สำหรับเนื้อไม้ที่ถูกทำลายไม่มาก ที่บริเวณพื้นผิวจะมีร่องรอยของขี้ปลวกเป็นจุดดำๆ กระจายอยู่ทั่วไป ปลวกสกุลนี้จะพบเข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับอาคารที่อยู่ในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่
รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีน้ำตาล มีความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 1.43 – 1.75 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 0.91 – 1.10 มิลลิเมตร กรามยาว 1.06 – 1.20 มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายเคียว ด้านในกรามทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นฟันเลื่อย (serrate)
ปลวกสกุลนี้จัดเป็นปลวกชนิดสร้างรังขนาดเล็กบนดิน บนต้นไม้หรือบนโครงสร้างอาคาร ลักษณะค่อนข้างกลมหรือทรงกรวยแหลม รังดินมักจะแข็งมากยากที่จะทุบให้แตก ผิวรังหยาบขรุขระ มีติ่งหรือกลีบเล็กๆ ยื่นออกมา โครงสร้างภายในมีช่องระบายอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป ในการหาอาหารปลวกจะทำท่อทางเดินขึ้นมาเป็นท่อกลม ลักษณะแห้งแข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 – 0.3 เซนติเมตร ลักษณะการกินเนื้อไม้ปลวกสกุลนี้จะกินไปตามแนวความยาวของเสี้ยนไม้เป็นร่องลึกเข้าไป เนื้อไม้ที่ถูกทำลายจะไม่มีร่องรอยเป็นจุดดำๆ ของขี้ปลวกกระจายอยู่และเมื่อถูกทำลายมากๆ จะไม่พบโครงสร้างของดินที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เช่นเดียวกับปลวกในสกุล Coptotermes ปลวกสกุลนี้ส่วนใหญ่พบเข้สทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้นเรือนที่อยู่ในเขตชนบท จัดเป็นปลวกทำลายเนื้อไม้ที่มีความสำคัญรองลงมาจากปลวก Coptotermes
รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารมีลักษณะค่อนข้างกลมมน สีเหลืองน้ำตาล ขนาดความยาวของหัววัดถึงฐานกลม 0.75 – 0.98 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 0.8 – 1.09 มิลลิเมตร กรามยาว 0.65 – 0.93 มิลลิเมตร มีลักษณะโค้งมากที่ส่วนปลาย กรามด้านในทั้งสองข้างมีฟันขนาดเล็กยื่นออกมาตรงกลาง ข้างละ 1 ซี่ ส่วนท้องของปลวกวรรณะทหารมีสีเหลืองของกำมะถันสังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก
ปลวกสกุลนี้สร้างบนดินขนาดกลางถึงขนาดค่อนข้างใหญ่ ลักษณะรูปร่างคล้ายโดม มีเส้นผ่าศูนย์กลางฐานตั้งแต่ 30-80 เซนติเมตร สูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร ผิวรังชั้นนอกสุดมีลักษณะเป็นชั้นดินบางๆ เคลือบไว้ โครงสร้างรังในชั้นที่ 2 จะแข็งแรงมาก และมีช่องระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป และชั้นในสุดของรังมีลักษณะคล้ายก้อนสมอง ซึ่งจะยุ่ยและแตกง่าย ภายในบริเวณนี้จะพบตัวอ่อนอยู่มากมาย ลักษณะการเข้าทำลายไม้ของปลวกสกุลนี้ไม่แน่นอน อาจนำดินเคลือบไปตามผิวไม้หรือทำทางท่อทางเดินขึ้นไปหาอาหาร และกัดกินเนื้อไม้เข้าไปตามแนวความยาวและแนวขวางของเสี้ยนไม้ ปลวกสกุลนี้พบเข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท ตลอดจนไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง
รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนหน้าลักษณะตัดสั้นทู่สีน้ำตาลเข้ม มีขนาดความยาวและความกว้างของหัวประมาณ 1.26 มิลลิเมตร กรามมีขนาดสั้นมากยาวประมาณ 0.64 มิลลิเมตร เมื่อมองด้านข้างจะมีลักษณะโค้งขึ้นคล้ายนอแรด ปลวกสกุลนี้อาศัยอยู่เฉพาะภายในเนื้อไม้ โดยไม่ทำท่อทางเดินดินเหมือนกีบปลวกใต้ดินชนิดอื่นๆ
ลักษณะการเข้าทำลายของปลวกกินไม้สกุลนี้ จะสังเกตได้จากการพบขี้ปลวกที่มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ แข็ง ขนาดเท่าเมล็ดฝิ่นร่วงหล่นออกมากองอยู่บนพื้น โครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายหากมองจากผิวภายนอกดูเหมือนว่ายังคงปกติอยู่ แต่โครงสร้างภายในที่ถูกทำลายนั้นจะมีลักษณะเป็นโพรง มีขี้ปลวกและตัวอ่อนบรรจุอยู่ ปลวกสกุลนี้พบเข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนที่อยู่บริเวณแถบชายฝั่งทะเล

1.1 วงจรชีวิต
การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก
เริ่มต้นขึ้นเมื่อฤดูกาลเหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงหลังฝนตนตก ปีละประมาณ 2-3 ครั้ง โดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมีย (alate or winged reproductive male or female) บินออกจากรังในช่วงพลบค่ำเพื่อมาเล่นไฟ จับคู่ผสมพันธุ์กันสำหรับปลวกใต้ดินที่เข้าทำลายอาคารบ้านเรือนมักจะบินออกจากรัง เวลาประมาณ 18.30-19.30 น. จากนั้นสลัดปีกทิ้งไป แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดินบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ประมาณ 2-3 วัน จึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆและจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละ